ขยะมูลฝอย 




         เศษกระดาษ เศษถุงพลาสติก เศษผัก เศษอาหาร ใบไม้ ซากสัตว์ รวมถึงวัตถุอื่นๆ ที่มนุษย์ไม่ต้องการเรียกว่า ขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยเกิดจากกิจกรรมในบ้านเรือน โรงงาน โรงเรียน ตลาด ร้านค้าข้างถนน บริเวณที่มีการก่อสร้าง และทุกแห่งที่มีมนุษย์อยู่ เป็นต้น 

         ในบ้านของเราก็มีขยะมูลฝอย ถ้าเราทิ้งขยะเกลื่อนกลาดไม่เป็นที่เป็นทาง บ้านก็จะสกปรก ขาดความสวยงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น และยังมีกลิ่นเหม็น ที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่อยู่อาศัย และบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย 

         นอกจากนี้ กองขยะมูลฝอยยังเป็นแหล่งอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์ และเป็นที่หลบซ่อนของสัตว์ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ คือ เป็น พาหะนำโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบและยุง ตลอดจนสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น คือ เชื้อโรคต่างๆ อีกด้วย

         การทิ้งขยะมูลฝอยให้เป็นที่เป็นทาง คือ ทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะ เช่น ถังที่มีฝาปิด ถ้าใช้ถุงพลาสติก เมื่อเต็มแล้ว ต้องผูกปากถุงให้มิดชิด เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็น และป้องกันไม่ให้สัตว์คุ้ยเขี่ย ทั้งนี้จะช่วยป้องกันความสกปรก และอันตราย ที่เกิดจากขยะมูลฝอย เช่น เศษแก้วบาดเท้า การเก็บขยะมูลฝอยให้มิดชิด ทำให้บ้านเมืองของเราสะอาดเป็นระเบียบ สวยงามน่าอยู่อาศัย 

         ขยะมูลฝอยเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับมนุษย์ เมื่อมนุษย์ทำสิ่งของเครื่องมือ เครื่องใช้ ปรุงอาหาร หรือรับประทานอาหาร จะมีเศษหรือสิ่งที่ไม่ต้องการเหลือ เช่น เศษไม้ เหลือจากการแกะสลัก ถุงพลาสติกใส่ของที่ซื้อมา กระดาษหนังสือพิมพ์ที่อ่านแล้ว และเศษอาหารเหลือจากการรับประทาน เป็นต้น 

          ขยะมูลฝอยที่กองหมักหมมเป็นสิ่งสกปรก ส่งกลิ่นเน่าเหม็น มีแมลงวันตอม หนู แมลงสาบ มด และเชื้อโรคต่างๆ อาศัยอยู่ในกองขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และที่เพาะพันธุ์ของมัน การทิ้งขยะมูลฝอยลงบนพื้นถนน หรือลงในแม่น้ำลำคลองนั้น นอกจากจะทำให้บ้านเมืองดูไม่เป็นระเบียบแล้ว ขยะมูลฝอยยังเป็นสิ่งกีดขวางการจราจรอีกด้วย การทิ้งขยะมูลฝอยลงในลำน้ำ จะทำให้ลำน้ำตื้นเขิน และน้ำไหลเวียนไม่สะดวก ขยะมูลฝอยที่มีปริมาณมาก จะทำให้น้ำในลำคลองเน่าเสีย และส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ และสัตว์น้ำ ที่อาศัยในแม่น้ำลำคลองนั้น 

          กองขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งไว้นานๆ จะเน่าเสีย และส่งกลิ่นเหม็น รบกวนผู้ที่อยู่บริเวณข้างเคียง เศษชิ้นส่วนของขยะมูลฝอยบางชนิด มีน้ำหนักเบา จะฟุ้งกระจายไปในอากาศ ส่งกลิ่นเหม็น และฝุ่นที่เกิดจากเศษขยะ ทำให้คุณภาพอากาศเสียไปด้วย

         เมื่อเราเป็นผู้ทำให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา เราทุกคนจึงควรช่วยกันรักษาความสะอาด ป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ จากขยะมูลฝอย การทิ้งขยะให้ถูกต้อง คือ ทิ้งขยะมูลฝอยในภาชนะ ที่จัดไว้สำหรับทิ้งขยะมูลฝอย แล้วจัดการเผาหรือฝังเสีย ในท้องที่ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ทางการเก็บขยะมูลฝอย เราก็ควรใส่ขยะลงในถุงพลาสติก ผูกปากให้แน่น หรือใส่ภาชนะที่แข็งแรง เช่น ถังที่ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด ไม่ควรใช้เข่ง เพื่อที่พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย จะได้นำไปกำจัดที่สถานที่กำจัดขยะได้สะดวก


การทิ้งขยะบนถนนหรือทางเท้าทำให้บ้านเมืองสกปรก
การทิ้งขยะบนถนนหรือทางเท้าทำให้บ้านเมืองสกปรก

การทิ้งขยะบนถนนหรือทางเท้าทำให้บ้านเมืองสกปรก
ขยะมูลฝอยนอกจากเป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรกแล้วยังทำให้บริเวณเหล่านั้นมีสภาพที่ไม่น่าดูอีกด้วย

การทิ้งขยะมูลฝอยในแหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย
การทิ้งขยะมูลฝอยในแหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย  

ความหมายของขยะมูลฝอย



                     ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า มูล ฝอย หมายถึง เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว หยากเยื่อ ขยะ หมายถึง หยากเยื่อ มูลฝอย

          พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้คำจำกัดความ มูล ฝอย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เราไม่ต้องการ ที่เป็นของแข็งหรืออ่อน มีความชื้น ได้แก่ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร ถุงพลาสติก ภาชนะกล่องใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์รวมตลอดถึงวัตถุอื่น สิ่งใดที่เก็บกวาดได้จากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
          
       ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้คำจำกัดความของคำว่า ของเสีย หมายความว่า ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในสภาพของแข็งของเหลวหรือก๊าซในทางวิชาการจะใช้คำว่า ขยะมูลฝอย ซึ่งหมายถึง บรรดาสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของแข็ง จะเน่าเปื่อยหรือไม่ก็ตาม รวมตลอดถึง เถ้า ซากสัตว์ มูลสัตว์ ฝุ่นละออง และเศษวัตถุที่ทิ้งแล้วจากบ้านเรือน ที่พักอาศัย สถานที่ต่าง ๆ รวมถึงสถานที่สาธารณะ ตลาดและโรงงานอุตสาหกรรม ยกเว้น อุจจาระ และปัสสาวะของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งปฏิกูล วิธีจัดเก็บและกำจัดแตกต่างไปจากวิธีการจัดขยะมูลฝอย ปัจจุบัน วิทยาการก้าวหน้า ประชากรเพิ่มอย่างรวดเร็ว อัตราการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตเครื่องอุปโภค บริโภค อาหาร ที่อยู่อาศัย เป็นเหตุให้เศษสิ่งเหลือใช้มีปริมาณมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาของขยะมูลฝอย
          
             ขยะ หรือ มูลฝอย หรือ ของเสีย เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และ มีผลต่อสุขภาพอนามัย มูลฝอยหรือของเสียกำลังมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพราะสาเหตุจากการเพิ่มของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและทางอุตสาหกรรม นับเป็นปัญหาที่สำคัญของชุมชนซึ่งต้องจัดการและแก้ไข ปริมาณกากของเสียและสารอันตราย ได้แก่ ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ ดิน และอากาศ ตลอดจนบางส่วนตกค้างอยู่ในอาหาร ทำให้ประชาชนทั่วไปเสี่ยงต่ออันตรายจากการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง และ โรคผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นต้น
          
            สถานที่บางแห่งก็มีคนทิ้งขยะกันตามสะดวก โดยนำไปเทกองรวมกันไว้ริมทางเดินบ้าง โคนต้นไม้บ้าง ทำให้มีการหมักหมมเน่าเปื่อยสิ่งกลิ่นเหม็นคลุ้ง บางครั้งอาจมองเห็นหนอนจำนวนมากมายไต่ยั้วเยี้ยออกมาจากกองขยะ ดูน่าขยะแขยง นอกจากนั้นกองขยะยังเป็นแหล่งชุมนุมของสัตว์นำโรคสารพัดชนิด เช่น ยุง แมลงวัน หนู แมลงสาบ ฯลฯ ยามที่ฝนตกลงมาน้ำฝนก็ชะเอาสิ่งสกปรกเน่าเหม็นในกองขยะไหลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง และอาจจะไหลลงท่อระบายน้ำ และแม่น้ำลำคลองใกล้ ๆ อีกด้วย
          
            การทิ้งขยะลงท่อระบายน้ำทำให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรง คือ ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน เมื่อฝนตกก็ไม่สามารถระบายน้ำฝนได้ จึงเกิดสภาพน้ำท่วมขังตามถนนสายต่าง ๆ ตามตรอกซอกซอย และผลที่ตามมาก็คือ การเดินทางไปมาตามเส้นทางเหล่านั้นลำบากขึ้น การจราจรก็ติดขัดและถนนหนทางอาจจะได้รับความ เสียหาย ซึ่งเมื่อน้ำลดลงสู่สภาพปกติก็ต้องซ่อมแซมใหม่ ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ
          
            บ้านเรือนที่มีขยะมูลฝอยรกรุงรังอยู่ภายในบ้านเรือนบริเวณบ้าน นอกจากจะดูสกปรกไม่น่าดูอยู่แล้ว ก็ยังเป็นที่ชุมนุมของหนู แมลงวัน แมลงสาบ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคทางเดินอาหารมาสู่คน และยังก่อความรำคาญให้อีกด้วย
แหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอย




ขยะเป็นสิ่งที่เหลือใช้ หรือสิ่งที่ไม่ต้องการอีกต่อไป สามารถแบ่งตามแหล่งกำเนิดได้ดังนี้

๑. ของเสียจากอุตสาหกรรม ของเสียอันตรายทั่วประเทศไทย ๗๓ %  มาจากระบบอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดการที่เหมาะสมโดยทิ้งกระจายอยู่ตามสิ่งแวดล้อมและทิ้งร่วมกับมูลฝอย รัฐบาลได้ ก่อตั้งศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมขึ้นแห่งแรกที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน เริ่มเปิดบริการตั้งแต่ ๒๕๓๑ ซึ่งก็เพียงสามารถกำจัดของเสียได้บางส่วน
               

๒.ของเสียจากโรงพยาบาลและสถานที่ศึกษาวิจัย ของเสียจากโรงพยาบาลเป็นของเสียอันตรายอย่างยิ่ง เช่น  ขยะติดเชื้อ เศษอวัยวะจากผู้ป่วย และการรักษาพยาบาล รวมทั้งของเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี สารเคมี  ได้ทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมโดยปะปนกับมูลฝอยสิ่งปฏิกูลเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรคและสารอันตราย 

๓. ของเสียจากภาคเกษตรกรรม เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย มูลสัตว์ น้ำทิ้งจากการทำปศุสัตว์ ฯลฯ 

               
๔. ของเสียจากบ้านเรือนแหล่งชุมชน เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ แก้ว เศษอาหาร พลาสติก โลหะ หินไม้ กระเบื้อง  หนัง ยาง ฯลฯ
 

๕. ของเสียจากสถานประกอบการในเมือง เช่น ภัตตาคาร ตลาดสด วัด สถานเริงรมย์
แหล่งชุมชน กิจกรรมอุตสาหกรรม และกิจกรรมเกษตร จัดได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอยที่สำคัญ เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นขยะมูลฝอยก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวประกอบกับมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ก็ยิ่งทำให้มีขยะมูลฝอยใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ขยะมูลฝอยเหล่านี้มีทั้งขยะมูลฝอยทั่วไปและของเสียอันตราย แต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน



แผนผังแหล่งกำเนิดและประเภทขยะมูลฝอย





ประเภทของขยะมูลฝอยที่แบ่งตามลักษณะส่วนประกอบของขยะมูลฝอย





ขยะมูลฝอยอาจแบ่งออกได้ตามลักษณะส่วนประกอบของขยะมูลฝอยได้เป็น ๑๐ ประเภท ได้แก่ 



๑. ผักผลไม้ และเศษอาหาร 

ได้แก่ เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหาร และเหลือจากการบริโภค เช่น ข้าวสุก เปลือกผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ

๒. กระดาษ 

ได้แก่ วัสดุ หรือผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากเยื่อกระดาษ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ ใบปลิว ถุงกระดาษ กล่องดาษ ฯลฯ

๓. พลาสติก 

ได้แก่ วัสดุ หรือผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากพลาสติก เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะพลาสติกของเล่นเด็ก ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ

๔. ผ้า 

ได้แก่ สิ่งทอต่างๆ ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ และใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้าย ลินิน ขนสัตว์ ผ้าไนลอน ได้แก่ เศษผ้า ผ้าเช็ดมือ ถุงเท้า ผ้าขี้ริ้ว ฯลฯ

๕. แก้ว 

ได้แก่ วัสดุ หรือผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากแก้ว เช่น เศษกระจก ขวด หลอดไฟ เครื่องแก้ว ฯลฯ

๖. ไม้ 

ได้แก่ วัสดุ หรือผลิตภัณฑ์ ที่ทำมาจากไม้ ไม้ไผ่ ฟาง หญ้า เศษไม้ เช่น กล่องไม้ เก้าอี้ โต๊ะ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ฯลฯ

๗. โลหะ 

ได้แก่ วัสดุ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากโลหะ เช่น กระป๋อง ตะปู ลวด ภาชนะ ที่ทำจากโลหะต่าง ๆ ฯลฯ

๘. หิน กระเบื้อง กระดูก และเปลือกหอย 

ได้แก่ เศษหิน เปลือกหอย เศษกระดูกสัตว์ เช่น ก้างปลา เครื่องปั้นดินเผา เปลือกหอย กุ้ง ปู เครื่องเคลือบ ฯลฯ

๙. ยางและหนัง 

ได้แก่ วัสดุ และผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากยางและหนัง เช่น รองเท้า กระเป๋า ลูกบอล ฯลฯ

๑๐. วัสดุอื่นๆ 

ได้แก่ วัสดุไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มต่างๆ ข้างต้น

นอกจากนี้เราอาจแบ่งประเภทของขยะมูลฝอยทั้ง ๑๐ ประเภท ออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ

๑. ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ได้ 

ได้แก่ กระดาษ ผ้าหรือสิ่งทอ ผักผลไม้ และเศษอาหาร พลาสติก หญ้าและไม้

๒. ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ไม่ได้ 

ได้แก่ เหล็กหรือโลหะอื่นๆ แก้ว หิน กระเบื้อง เปลือก หอย ฯลฯ




ขยะประเภทต่าง ๆ ที่นำไปขายได้
ขยะประเภทต่างๆ ที่นำไปขายได้

ขยะจำพวกกระดาษและผ้าซึ่งเผาไหม้ได้
ขยะจำพวกกระดาษและผ้าซึ่งเผาไหม้ได้

ประเภทของขยะที่แบ่งตามการทิ้ง

                       
ประเภทของขยะที่ทิ้งกันอยู่ทั่วไปมี   ๔ ประเภท ได้แก่

            ๑.ขยะย่อยสลายได้   เช่น  เศษอาหารและพืชผัก    ที่เหลือจากการรับประทาน    และการประกอบอาหารสามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้   จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีประมาณ ๔๖ %

            ๒.ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้  เช่น  แก้ว  กระดาษ  พลาสติก  โลหะ/อโลหะ  ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด  มีอยู่ประมาณ  ๔๒  %       

            ๓.ขยะทั่วไป  เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล  เช่น  ซองบะหมี่สำเร็จรูป  เปลือกลูกอม  ถุงขนม  ถุงพลาสติก  จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด   ประมาณ  ๙ %

            ๔.ขยะพิษ  หรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี  เช่น  กระป๋องยาฆ่าแมลง  หลอดไฟ    ถ่านไฟฉาย  ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด  มีอยู่ประมาณ  ๓  %                                      


การเปลี่ยนแปลงขยะ




การเปลี่ยนแปลงขยะ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

๑. ลักษณะชุมชนหรือที่ตั้ง ของท้องถิ่น ชุมชนการค้า ( ตลาด ศูนย์การค้า ) จะมีปริมาณขยะมูลฝอยมากกว่าชุมชนที่อยู่อาศัย ส่วนบริเวณเกษตรกรรม จะมีปริมาณขยะมูลฝอยอีกรูปแบบหนึ่ง

๒.ความหนาแน่นของประชากรในชุมชน บริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นปริมาณขยะเก็บมากกว่าบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อย เช่น บริเวณ แฟลต คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮาส์ ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยหลายครอบครัว ปริมาณขยะมีมาก 


๓. ฤดูกาล มีผลต่อการเปลี่ยนปลงของปริมาณขยะเป็นอย่างมาก เช่น ฤดูที่ผลไม้มาก ปริมาณขยะมูลฝอยจำพวกเปลือก เม็ดของผลไม้จะมีมาก เพราะเหลือจากการบริโภคของประชาชน ถ้าผลไม้ยิ่งออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ยิ่งทำให้มีเปลือกและเศษผลไม้ทิ้งมากในปีนั้น 


๔.สภาวะเศรษฐกิจ ชุมชนที่มีฐานะดี ย่อมมีกำลังซื้อสินค้าสูงกว่าชุมชนที่มีฐานะเศรษฐกิจต่ำ จึงมีขยะมูลฝอยมากตามไปด้วย ชุมชนที่มีฐานะเศรษฐกิจดี จะมีขยะมูลฝอยจากบรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง กระป๋อง โฟม ถุงพลาสติก ส่วนพวกฐานะที่ไม่ดีมักเป็นเศษอาหาร เศษผัก 


๕. อุปนิสัยของประชาชนในชุมชน ประชาชนที่มีอุปนิสัยรักษาความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยจะมีปริมาณขยะมูลฝอยในการเก็บขนมากกว่าประชาชนที่มีอุปนิสัยมักง่ายและไม่เป็นระเบียบ ซึ่งจะทิ้งขยะมูลฝอยกระจัดกระจาย ไม่รวบรวมเป็นที่เป็นทางปริมาณขยะมูลฝอยที่จะเก็บขนจึงน้อยลง แต่ไปมากอยู่ตามลำคลอง ถนนสาธารณะ ถนน ที่สาธารณะ เป็นต้น ตัวแปรอีกตัวหนึ่งคือ พฤติกรรมการบริโภคและค่านิยมของคนแต่ละกลุ่ม มีผลต่อลักษณะของขยะมูลฝอย เช่น กลุ่มวัยรุ่นนิยมอาหารกระป๋อง น้ำขวด อาหารใส่โฟม พลาสติก กล่องกระดาษ 


๖.การจัดการบริการเก็บขยะมูลฝอย องค์ประกอบนี้ก็เป็นผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณขยะมูลฝอย ถ้าบริการเก็บขยะมูลฝอยไม่สม่ำเสมอประชาชนก็ไม่กล้านำขยะมูลฝอยออกมา ความไม่สะดวกในการจัดเก็บขยะมูลฝอย เพราะรถขนขยะมูลฝอยไม่สามารถเข้าชุมชนได้ เนื่องจากถนนหรือตรอก ซอยแคบมาก ต้องใช้ภาชนะขนถ่ายอีกทอดหนึ่ง ก็ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยเหลือจากการเก็บอีกมาก 


๗.ความเจริญของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เนื่องจากคนบริโภคอาหารสำเร็จรูปกันมากขึ้นทั้งภาชนะฟุ่มเฟือย ขวด กระป๋อง กล่อง ถุงพลาสติก ฯลฯ กันมาก








ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสภาวะแวดล้อม




การทิ้งขยะไม่เลือกที่ ทำให้บริเวณนั้นดูไม่สะอาดตา
การทิ้งขยะไม่เลือกที่
ทำให้บริเวณนั้นดูไม่สะอาดตา

ทิ้งขยะมูลฝอยไม่เลือกที่จะเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์นำโรคได้
ทิ้งขยะมูลฝอยไม่เลือกที่จะเป็นแหล่งอาหาร
และแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์นำโรคได้ 


น้ำเสียที่เกิดจากการทิ้งขยะหมักหมมไว้นาน ๆ
น้ำเสียที่เกิดจากการทิ้งขยะหมักหมมไว้นานๆ

             ขยะมูลฝอยนั้น นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้อง และเหมาะสมแล้ว ปัญหาความสกปรกต่างๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้ว ขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อมนุษย์มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์ ยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย ทั้งโดยทางตรง และทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก

๑.  ขยะมูลฝอย เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่นๆ

๒.  ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และก่อให้เกิดความรำคาญ

๓. ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก ขาดความสวยงาม เป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น และผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่ตกอยู่ หรือถูกทิ้งลงในคูคลอง หรือทางระบายน้ำ จะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำ ทำให้แหล่งน้ำสกปรก และเกิดการเน่าเสีย

๔. น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก ซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ เชื้อโรค และสารพิษต่างๆ เจือปนอยู่ เมื่อน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย ไหลไปตามพื้นดินบริเวณใด ก็จะทำให้บริเวณนั้น เกิดความสกปรก และความเสื่อมโทรมของพื้นดิน และอาจเปลี่ยนสภาพ ทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นดินด่าง หรือดินกรดได้ ในกรณีที่น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย ไหลลงสู่แหล่งน้ำ ก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสียไป ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดิน หรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตาม ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำ น้ำที่สกปรกมาก หรือมีสารพิษเจือปนอยู่ ก็อาจทำให้สัตว์น้ำตายในเวลาอันสั้น นอกจากนั้นสิ่งสกปรกต่างๆ ที่เจือปนในน้ำ ก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศของน้ำ ทำให้สัตว์น้ำที่มีค่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป นอกจากนี้น้ำที่มีสิ่งสกปรกเจือปน ย่อมไม่เหมาะแก่การอุปโภค บริโภค แม้จะนำไปปรับปรุงคุณภาพแล้วก็ตาม เช่น การทำระบบน้ำประปา ซึ่งก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมากขึ้น

๕. ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ในเขตชุมชน หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัด ซึ่งไม่มีการฝังกลบ หรือขณะที่ทำการเก็บขน โดยพาหนะที่ไม่มีการปกปิดอย่างมิดชิด ขยะมูลฝอยเหล่านั้นส่งกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจออกมา เศษชิ้นส่วนของขยะมูลฝอยจะสามารถปลิวไปในอากาศ ทำให้เกิดความสกปรกแก่บรรยากาศ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ และทำความสกปรกให้กับบริเวณข้างเคียงได้

             นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นานๆ จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้น ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ ซึ่งติดไฟ หรือเกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งมีกลิ่นเหม็


Video

PS.Fanpage

Popular Posts

calender

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Quotes